• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

บทสวดทําวัตรเช้าแปล พร้อมคำบูชาพระรัตนตรัย

Started by Posthizzt555, September 28, 2023, 04:49:09 PM

Previous topic - Next topic

Posthizzt555


บทสวดทําวัตรเช้าแปล
สวดมนต์ทำวัตรเช้าพร้อมคำแปล สวดทุกวัน สร้างกุศลเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นกุศลชนิดมีปัญญาสามารถพ้นทุกข์ได้และเข้าใจชีวิตได้ดี เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้แก่ตนเองตลอดทั้งวัน
คําบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสําเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่อง สักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิง ทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ ข้าพเจ้านมัสกา พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
ปุพพภาคนมการ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(ท่อง 3 จบ)
พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชังสะเทวะ มะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดได้ทรงทําความดับทุกข์ ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดามาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลยาณัง ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ ทรงประกาศ พรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถะ (คําอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
สิระสา นะมามิ พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระพุทธคุณ)
ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จํากัดกาล
เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
สังฆาภิถุติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา นับเรียงตัวบุรุษ ได้ 8 บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา
ปาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทําอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น.
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
รตนัตตยัปปณามคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตต๎ยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก จําแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสัทธิยา บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว ได้กระทําแล้ว เป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้ ขออุปัททวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ด้วยอํานาจความสําเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.
สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา แม้ความโศก ความร่ําไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสพกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ
รูปูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ เพื่อให้สาวกกําหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติย่อมทรงแนะนําสาวกทั้งหลาย เช่นนี้ เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ อนึ่งคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไป ในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจําแนกอย่าง นี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต (ตา)* มะยัง โอติณณามะหะ พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงําแล้ว
ชาติยา โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ โดยความแก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ โดยความโศก ความร่ําไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย

ทุกโขติณณา เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเองแล้ว
ทุกขะปะเรตา เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ ทําไฉน การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้.

(สําหรับอุบาสกอุบาสิกาสวด) *
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวะตัง สะระณัง คะตา เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้นเป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ จักทําในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกําลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ จงเป็นไปเพื่อการทําที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
(สําหรับภิกษุสามเณร)
จิระปะรินิพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสมิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อการทําที่สุด แห่งกองทุกข์สิ้นนี้เทอญ.
ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ
(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อบําบัดความหนาว
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพื่อบําบัดความร้อน
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันบิณฑบาต
เนวะ ทวายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ มะทายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อคววามเมามัน เกิดกําลังพลังทางกาย
นะ มัณฑะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะ วิภูสะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
ยาปะนายะ เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพนี้ด้วย
วิหิงสุปะระติยา เพื่อความสิ้นไปแห่งความลําบากทางกาย
พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ ด้วยการทําอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกข์เวทนาเก่าคือ ความหิว
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ และไม่ทําทุกข์เวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาต๎รา จะ เม ภะวัสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่ง อัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เราดังนี้
ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ใช้สอยเสนาสนะ
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อบําบัดความหนาว
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ เพื่อบําบัดความร้อน
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมี จากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสําหรับภาวนา
ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว บริโภคเภสัชบริขาร อันเกื้อกูลแก่คนไข้
ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ เพียงเพื่อบําบัดทุกข์เวทนา อันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล
อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่งดังนี้.
ธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะ
(หันทะ มะยัง ธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะ เส)
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น กําลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ
ยะทิทัง จีวะรัง ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล สิ่งเหล่านี้ คือจีวร และคนผู้ใช้สอยจีวรนั้น
ธาตุมัตตะโก เป็นสักว่าธาตุธรรมชาติเท่านั้น
นิสสัตโต มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ จีวะรานิ อะชิคุจฉะนียานิ ก็จีวรทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง ปูติกายัง ปัต๎วา ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น กําลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ
ยะทิทัง ปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล สิ่งเหล่านี้ คือบิณฑบาต และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น
ธาตุมัตตะโก เป็นสักว่าธาตุธรรมชาติเท่านั้น
นิสสัตโต มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนีโย ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง ปูติกายัง ปัต๎วา ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายะติ ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น กําลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ
ยะทิทัง เสนาสะนัง ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล สิ่งเหล่านี้ คือเสนาสนะ และคนผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้น
ธาตุมัตตะโก เป็นสักว่าธาตุธรรมชาติเท่านั้น
นิสสัตโต มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ เสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิ ก็เสนาสนะทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียด มาแต่เดิม
อิมัง ปูติกายัง ปัต๎วา ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน
ยะถาปัจจะยังปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง สิ่งเหล่านี้นี่ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น กําลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ
ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชะปะริกขาโร ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล สิ่งเหล่านี้ คือเภสัช บริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้ และคนผู้บริโภคเภสัชบริขารนั้น
ธาตุมัตตะโก เป็นสักว่าธาตุธรรมชาติเท่านั้น
นิสสัตโต มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน
นิชชีโว มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล
สุญโญ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
สัพโพ ปะนายัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร อะชิคุจฉะนีโย ก็คิลานเภสัชทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม
อิมัง ปูติกายัง ปัต๎วา ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายะติ ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน
ปัตติทานคาถา
(หันทะ มะยัง ปัตติทานะ คาถา โย ภะณามะ เส)
ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี
ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง
เทวดาทั้งหลายเหล่าใดมีปกติอยู่ในวิหารสิงสถิตที่เรือนพระสถูปที่ในเรือนโพธิในที่นั้นๆ
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันเต ปูชิตา
โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล
เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน ขอจงทําซึ่งความสวัสดีความเจริญในมณฑลวิหารนี้
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว
สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา
พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานบดี พร้อมด้วยอารมิกชนก็ดี
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา
สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต
ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นชาวบ้านก็ดี ที่เป็นชาวประเทศก็ดี ที่เป็นชาวนิคมก็ดี ที่เป็นอิสระเป็น ใหญ่ก็ดี ขอชนทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา
สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกําเนิดก็ดี ที่เป็นอัณฑชะกําเนิดก็ดี ที่เป็นสังเสทชะกําเนิดก็ดี ที่เป็นโอปปาติกะกําเนิดก็ดี
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต
สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง
สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐเป็นนิยยานิกธรรม ประกอบในอันนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากสังสารทุกข์ จงกระทําซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา
ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน อนึ่ง ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม จงดํารงอยู่นาน
สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ
ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ในอันทําซึ่งประโยชน์และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด
อัมเห รักขะตุ สัมธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน
ขอพระสัทธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลายแล้ว จงรักษาไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลายผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง
วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต
ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้วเถิด
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสาสะเน
สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต กาเล เทโว ปะวัสสะตุ
แม้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนา ฝนจงเพิ่มให้อุทกธารตกต้องในกาลโดยชอบ
วุฑฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง
จงนําไปซึ่งเมทนีดลให้สําเร็จประโยชน์ เพื่ออันบังเกิดความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย
มาตา ปิตา จะ อัต๎ระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง
มารดาและบิดา ย่อมถนอมบุตรน้อย อันบังเกิดในตนเป็นนิตย์ฉันใด
เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา ฯ
พระราชาทั้งหลายจงทรงรักษาประชาราษฎร์ โดยชอบในกาลทั้งปวงฉันนั้น.
(บทสวดทําวัตรเช้า จบ)

เครดิตบทความจาก : https://doghb.com/

Tags :  ทำนายฝัน, ดูดวงความรัก, ดูดวงดวงวันนี้